มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
1. หลักการและเหตุผล
มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
คือมาตรการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องกำหนดและมีการดำเนินการอย่างเหมาะสม
เพื่อสร้างแนวทำงป้องกันการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 37 (1)
ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดไว้ว่า
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย
เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง หรือเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจ
และต้องมีการทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม
โดยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Security) หมายถึง การธำรงไว้ซึ่งความลับ
(Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (Integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
การรักษาความปลอดภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
และอำนาจในการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งกฎหมายรับรองไว้ให้ ด้วยเหตุนี้
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน้าที่ประการหนึ่งตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
(รวมถึงผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) จะต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง
แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งจะทำให้เกิดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเรียกว่า
“การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล”
2. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัท ดิวายน์ ดิเวลลอปเมนท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด “บริษัทฯ”
มีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (บางกรณี)
ได้ดำเนินการตามมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการดำเนินการให้มีการรักษาความลับ
(Confidentiality) ของข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลมีความถูกต้องครบถ้วน (Integrity)
และทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลมีความพร้อมในการใช้งาน (Availability)
เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลสูญหายและถูกเข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเปิดเผยจากบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
รวมถึงต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเรื่องการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล
(Access control) ครอบคลุมถึงมาตรการ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
-
2.1. มาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (Administrative Safeguard)
- 2.1.1. บริษัทฯ มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายนี้
ให้แก่คณะกรรมการ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ลูกจ้างทุกประเภทของบริษัทฯ
ตลอดจนคู่ค้า พันธมิตรทำงธุรกิจและหรือผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ทราบ
รวมถึงสร้างเสริมความตระหนักรู้ด้านความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับกลุ่มบุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
- 2.1.2. บริษัทฯ มีมาตรฐานการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามและเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
โดยเป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยทำงสารสนเทศ
มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ตัวแทนบริษัทฯ
ในการกำเนินการเมื่อเกิดเหตุละเมิดและการรักษาและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามและเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ดังนี้
- 2.1.2.1. กำหนดผู้ดูแลประจำข้อมูลส่วนบุคคล
และกำหนดวิธีปฏิบัติกรณีมีเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- 2.1.2.2.
กำหนดวิธีปฏิบัติให้ตัวแทนของบริษัทต้องดำเนินการแจ้งสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ภายใน
72 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทราบเหตุ
- 2.1.2.3. การแจ้งเหตุละเมิดตามข้อ 2.1.2.2. อาจได้รับยกเว้นไม่ต้อง
หากไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ทั้งนี้
เมื่อมีเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ
จะทบทวนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทุกครั้ง
- 2.1.3. บริษัทฯ มีการกำหนดผู้ดูแลข้อมูล
การอนุญาตหรือการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน(User Responsivities)
แบ่งเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น สิทธิในการเข้าดู แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดเผยและเผยแพร่การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ตลอดจนการลบทำลาย
- 2.1.4. บริษัทฯ จัดให้มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใช้งาน (User Access
Management) เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
- 2.1.5. บริษัทฯ จัดให้มีวิธีการเพื่อตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับการเข้าถึง เปลี่ยนแปลง ลบ สำเนา
ถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องเหมาะสม
- 2.1.6. ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยนี้
เนื่องจากความบกพร่องของบริษัทและทำให้เกิดการละเมิดหรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ
จะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงรายละเอียดของเหตุการณ์และแผนเยียวยาความเสียหายจากการละเมิดหรือรั่วไหลดังกล่าวโดยเร็ว
- 2.1.7. การลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลพ้นระยะเวลาการใช้งานหรือไม่มีความจำเป็นในการเก็บรักษาบริษัทฯ
จะลบทำลายออกจากระบบ หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
เว้นแต่ในกรณีที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ตามที่กฎหมายกำหนด
- 2.1.8. บริษัทฯ
มีการดำเนินการสอบทำนและประเมินประสิทธิภาพของระบบรักษาข้อมูลส่วนบุคคลโดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน
-
2.2. มาตรการป้องกันทางกายภาพ (Physical Safeguard)
- 2.2.1. บริษัทฯ มีการบริหารจัดการสิทธิผู้ใช้งานที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการให้สิทธิหรือลงทะเบียน
การถอนสิทธิการทบทวนสิทธิ และปรับปรุงสิทธิ
- 2.2.2. บริษัทฯ มีระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้ระบบ และหรือ บริการต่าง ๆ
ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติทางสารสนเทศของบริษัทฯ
-
2.3. มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (Technical Safeguard)
- 2.3.1. บริษัทฯ มีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
อุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นที่ตั้ง
- 2.3.2. บริษัทฯ มีการกำหนดผู้ได้รับอนุญาตเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ตามหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย
การล่วงรู้ การลักลอบสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การลักขโมยอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
และการดำเนินการป้องกันระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล หรือถูกละเมิด
-
2.4. มาตรการป้องกันการใช้งานระบบการประมวลผลระบบคลาวด์ (Cloud Safeguard)
- 2.4.1. บริษัทฯ มีการพิจารณาข้อมูลของผู้ให้บริการภายนอก ทั้งในส่วนความน่าเชื่อถือ
ประสิทธิภาพในสนับสนุน เสถียรภาพของระบบ มาตรฐานความปลอดภัยของระบบ
เนื่องจากการประมวลผลระบบคลาวด์ มีการให้บริการที่หลากหลาย
เพื่อตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก
และเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานภายใต้แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ดังนั้น
ควรมีการพิจารณาความปลอดภัยพื้นฐานในการเลือกใช้บริการ (Cloud service selection) หรือ
ทำการตรวจสอบภายใน (internal audit)
- 2.4.2. บริษัทฯ มีการกำหนดผู้เข้าใช้ระบบ สิทธิในการเข้าถึง
ว่าใครบ้างที่ควรจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูล เข้าถึงข้อมูลได้ในระดับชั้นไหน รวมถึงสิทธิที่จะได้
(เช่น ดูอย่าง, แก้ไข) การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Access Control)
ต้องมีการกำหนดการเข้าถึง สิทธิ และการจำกัดระยะเวลาในการเข้าถึง
โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลที่มีปริมาณมาก หรือข้อมูลอ่อนไหว ผ่านระบบต่าง ๆ
- 2.4.3. บริษัทฯ กำหนดประเภทของข้อมูลที่จะถูกเก็บ ระยะเวลา การส่งออก เช่น
การกำหนดว่าข้อมูลใดที่ต้องเก็บบนคลาวด์หรือไม่ควรเก็บบนคลาวด์ การบริหารการจัดเก็บข้อมูล (Data
retention rule) ผู้ให้บริการจะต้องมีการระบุระยะเวลาในการสำรองข้อมูล การทำลายอย่างชัดเจน
เพื่อไม่ให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลเกินความจำเป็น
และต้องมีการระบุวิธีการบริหารจัดการบันทึกการเข้าใช้งานที่สามารถติดตามได้ (Audit log
available) ให้องค์กรสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
- 2.4.4. บริษัทฯ กำหนดนโยบายการส่งต่อข้อมูลระบบคลาวด์ ภายในองค์กร และ ภายนอก คือ
กรณีมีการส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลภายนอก (Third party) ประมวลผลผ่านทำงระบบคลาวด์ บริษัทฯ
จะพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยด้านข้อมูล (Security Control) ของบริการคลาวด์
เช่น ด้านการทำ Encryption เป็นต้น
-
2.5. กรณีต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
บริษัทฯ จะกำหนดให้ผู้รับข้อมูลส่วนบุคคล
จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรการตามนโยบายนี้
เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบหรือกระทำโดยปราศจากอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้ง
ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบหากเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ความเข้มข้นของมาตรการ
ให้เป็นไปตามระดับความเสี่ยง หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ถูกแก้ไข
ถูกคัดลอก หรือถูกทำลาย โดยมิชอบ
-
2.6. กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของบริษัทฯ
จนเป็นเหตุให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ
บริษัทจะดำเนินการแจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบโดยเร็วรวมพร้อมแจ้งแนวทางการเยียวยา
3. การทบทวนมาตรการ
บริษัทฯ จัดให้มีการทบทวนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำทุกปีเมื่อมีความจำเป็น และ/หรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป
4. คำสงวนสิทธิ์
บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบกรณีที่ความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่สาม
รวมถึงการละเลยหรือเพิกเฉย การออกจากระบบ (L๐g Out) ฐานข้อมูลหรือระบบสื่อสารสังคมออนไลน์
โดยการกระทำของเจ้าของข้อมูล หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
5. ช่องทำงการติดต่อ
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือ
เปิดเผยการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้
ท่านสามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดที่ปรากฏดังต่อไปนี้
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Email: dpo@divine.co.th
สถานที่ติดต่อ บริษัท ดิวายน์ ดิเวลลอปเมนท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด
548 อาคารวัน ซิตี้ เซ็นเตอร์ (โอซีซี) ชั้นที่ 19 ห้องเลขที่ 1905
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566